• img img
  • img img
  • img img
  • img img
  • img img
  • img img

รายละเอียดสินค้า

ชุดเคลือบซีล และ เชื่อมซ่อม จาก Gear Aid ผู้นำด้านอุปกรณ์ซ่อมเต็นท์จากประเทศอเมริกา ช่วยให้เต็นท์ของคุณกันน้ำได้ดียิ่งขึ้น ใช้งานได้กับเนื้อผ้าทุกประเภท ทั้ง ผ้าไนลอน ไวนิล  , PVC , neoprene , ยาง และ หนัง ให้คุณสามารถรับมือกับการชำรุดฉีกขาด รั่ว ของอุปกรณ์ได้อย่างมั่นใจ เหมาะเป็นอย่างยิ่งกับเต็นท์ผ้าไนลอน หรือผ้า canvas , เสื้อแจ็คเก็ต กระเป่าที่ทำจากยางหรือ ไวนิล  หรือแม้แต่ยางด้านข้างของรถจักรยาน ถุงมือ รองเท้ากีฬา ไกเตอร์ แผ่นรองนอน เป้แบ็คแพ็ค เสื้อกันฝน

คำเตือน ผลิตภัณฑ์นี้ไม่เหมาะกับเนื้อผ้าที่มีการเคลือบซิลิโคน

** หมายเหตุ ** รุ่นนี้จะต่างกับรุ่น Seam Grip +FC (ชื่อเดิม Seam Sure)  ตรงที่สามารถใช้งานได้หลากหลายกว่า (ถ้าเป็นรุ่น Seam Sure จะเป็นสูตรน้ำ เน้นใช้ซีมซีลเป็นหลัก)  และตัว Seam Grip จะแห้งช้ากว่าใช้เวลาราว 8 ชั่วโมง  (Seam Grip +FC ใช้เวลา 2 ชั่วโมง)  นอกจากนั้น 1 หลอดเหมาะกับใช้งานเต็นท์ขนาด 2 คน (Seam Grip +FC เป็นสูตรน้ำจะทาได้พื้นที่เยอะกว่า ขนาดเต็นท์ราว 3-4 คน เหมาะกับเต็นท์ครอบครัว)

คุณสมบัติละเอียด

  • ชุดซีมซีลจาก Urethane และชุดเชื่่อมซ่อม
  • ซีลรอยต่อและซ่อมรอยขาด รูโหว่ ได้อย่างถาวร สำหรับอุปกรณ์สำหรับกิจกรรมกลางแจ้ง
  • สุตรกันน้ำ 100%  มีความยืดหยุ่น สามารถล้างออกได้ และ ทนต่อสภาพอากาศที่เย็นหรือร้อนได้
  • 1 หลอดขนาด 28 กรัม เคลือบได้ยาว 144 นิ้ว ซึ่งเป็นขนาดเฉลี่ยสำหรับการเคลือบซีลเต็นท์ 2 คน
  • ใช้เวลาในการเชื่อมติด 8-12 ชั่วโมง
  • เมื่อทาแล้ว ซึลจะทำงานได้ดี เมื่อให้อยู่ในสภาวะอากาศที่มีความชื้นอยู่ ลักษณะการแห้งจะแตกต่างกับกาวแบบอื่น
  • สามารถใช้บนเนื้อผ้าธรรมชาติและไยสังเคราะห์ได้อย่างปลอดภัย
  • ติดได้แน่น และทนทานต่อรอยขีดข่วน
  • ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับรางวัล ตัวเลือกจากบรรณาธิการนิตยสาร Backpacker
  • ผลิตในประเทศอเมริกา

 

แนะนำวิธีการใช้

 

 

1) วิเคราะห์เต็นท์ตัวเองก่อน
อาจจะทำการทดสอบโดยใช้สปริงเกิลฉีดน้ำ จำลองเหมือนฝนตกเพื่อดูสภาพการกันน้ำของเต็นท์

ข้อแนะนำคือ

เต็นท์ใหม่ ปกติไม่ต้องทำซีมซีลครับ ยกเว้นอยากทำเสริม ก็จะ
ทาภายนอกเต็นท์ เพราะปกติข้างในมักจะมีการติดเทปซีลอยู่แล้ว

เต็นท์เก่า ทดสอบแล้วมีน้ำเข้า ให้ลองดูสภาพเทปซีลข้างในถ้าร่อนแล้ว ต้องลอกเทปเก่าออกให้หมดก่อน แล้วเอาไอโซโพรพิลแอลกอฮอล์เช็ดทำความสะอาด เราจะทาซีมซีลลองที่ตำแหน่งเดิม ถ้าน้ำรั่วเข้าเป็นบางส่วน อันนี้ทำเฉพาะจุดได้เลยครับ

การทาจะไม่นิยมทาในส่วนที่ไม่มีผลกระทบต่อการนอนภายในเช่น ฟลายชีทยื่นออกมาจากส่วนคนนอนมาก ไม่มีโอกาสที่น้ำจะหยดเข้ามาด้านใน ก็มักจะปล่อยไว้ไม่ทา เพราะ … มันเปลืองครับ

แล้วจะทาด้านในหรือนอกดี มีหลายสำนักครับ บางสำนักก็แนะนำให้ทาด้านนอก บางสำนักก็แนะนำให้ทาด้านใน แต่ข้อแนะนำของผมคือ ถ้าด้านในมีเคลือบกันน้ำสภาพดีอยู่แล้ว ถ้าอยากทาให้ทาด้านนอกเพื่อเสริม (ไม่จำเป็นต้องทำก็ได้ ถ้าน้ำไม่เข้า)  แต่ถ้าด้านในไม่มีเคลือบกันน้ำ ให้ทาด้านในครับ ด้วยเหตุผลว่า ทาด้านในมันจะไม่โดน UV การเสื่อมสภาพจะช้ากว่าด้านนอก และซีลพวกนี้ถ้าโดนแดดมากๆจะออกสีเหลืองหน่อย แต่ใครอยากทาทั้ง 2 ด้านก็ไม่มีปัญหาอะไร เพิ่มความแข็งแรงให้การกันน้ำ ยกเว้นข้อเสียคือเปลืองแค่นั้นครับ

2) เตรียมตัวก่อนทา เนื่องจากตัวซีมซีลนี่ต้องทำแล้วทิ้งไว้  8-12 ชั่วโมง ถึงจะพร้อมใช้ออกสนามจริงได้ พูดง่ายๆคือแนะนำให้ทิ้งไว้ข้ามคืนครับ ตอนทำให้เลือกวันที่อากาศแห้งๆ แล้วออกไปทำกลางแจ้ง อย่าทำที่อับอากาศครับ เพื่อไม่ให้หายใจเข้าไปมาก อาจจะมึนหัวได้
อาจจะหาโต๊ะแล้ววางผ้าเต็นท์แล้วค่อยๆ ทาไปทีละส่วนก็ได้ หรือถ้าทาด้านนอก ก็สามารถกางเต็นท์แล้วทาตามแนวตะเข็บได้เลย

3) เทคนิคการทา

– ทำความสะอาดบริเวณที่จะทา ด้วยไอโซโพรพิลแอลกอฮอล์ ใส่ถุงมือให้เรียบร้อยแล้วก็เริ่มทา  เวลาโดนตัวอารมณ์เหมือนโดนกาวครับ มันจะออกเองแหละแต่อาจจะ 2-3 วัน
– เสียบหลอดกับหัวแปลง ออกแรงบีบให้น้ำยาออกมาช้าๆ ไม่ต้องมากนะครับ เพราะเราจะทาบางๆ เท่านั้น ต้องทาให้ออกไปท้้งด้านซ้ายและขวาของรอยเย็บ ถ้ามีแนวเทปเดิมก็ทาตามเดิมไป แต่ถ้าไม่มีก็ให้ทาห่างออกมาข้างละครึ่งนิ้วจากแนวเย็บ และ ถ้าต้องการให้ดูเรียบร้อยหน่อย ทาแล้วเป็นแนวเดียวกัน ก็เอาเทปกาวแบบที่ลอกง่ายๆ ติดด้านซ้ายขวาของแนวตะเข็บเพื่อทำเป็นกรอบ ไม่ให้น้ำยาไปเลอะด้านข้าง
– ย้ำว่าทาบางๆครับ ใช้แปลงปัดให้บางๆเลย
– พอทาเสร็จก็ทิ้งไว้ซัก 30 นาที ถ้าแปะเทปกาวกันเลอะไว้ก็ให้ลอกออกได้ เดี๋ยวมันติดนานครับ รอจนกระทั่งแห้ง แล้วก็เอาเข้าไปเก็บทิ้งไว้ข้ามคืน ก็จะพร้อมออกสนามใช้งานได้

 

เทคนิคการเก็บ Seam Grip +WP

เมื่อเปิดหลอดใช้งานแล้ว มีข้อแนะนำในการเก็บดังนี้

  • ให้บีบไล่ตัวกาวขึ้นไปจนถึงคอหลอด เพื่อไล่อากาศให้ออกจากหลอดให้หมดเนื่องจากอากาศจะเป็นตัวทำให้กาวแข็งตัว
  • เช็ดเกลียวรอบปากหลอดให้สะอาด เพื่อป้องกันฝาปิดแห้งติด
  • ปิดฝาให้แน่น
  • เก็บหลอดในถุงพลาสติคซิปล็อค
  • เก็บหลอดในที่แห้ง เช่นในตู้ช่องฟรีซของตู้เย็น
  • ตอนที่ต้องใช้งานให้แช่หลอดในน้ำอุ่นประมาณ 1 นาทีก่อน